- ทำผิดแล้วยังไม่รู้สึกว่าตัวเองผิด
- หัวใจแข็งกระด้างและไม่ต้องการที่จะอ่านกุรอาน
- รู้สึกขี้เกียจที่จะทำความดี เช่น ล่าช้าในการนมาซ
- ละทิ้งแบบอย่างคำสอนของท่านนบีฯ
- อารมณ์ฉุนเฉียว ตัวอย่างเช่น หงุดหงิดในเรื่องเล็กๆน้อยๆและชอบกระฟัดกระเฟียด
- ไม่รู้สึกอะไรเมื่อได้ยินถ้อยคำจากกุรอาน เช่นเมื่ออัลลอฮฺเตือนถึงการลงโทษหรือแจ้งข่าวดี
- รู้สึกยากลำบากในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ
- ไม่รู้สึกอะไรเมื่อมีการทำสิ่งที่ฝืนบทบัญญัติแห่งอิสลามเกิดขึ้น
- อยากได้ฐานะและทรัพย์สิน
- ไม่ต้องการที่จะจากทรัพย์สินไป
- สั่งให้คนอื่นทำดี แต่ตัวเองไม่ทำ
- รู้สึกดีใจเมื่อเห็นคนอื่นไม่ได้รับความก้าวหน้า
- เห็นคนทำความดีเล็กๆน้อยๆเป็นเรื่องขบขัน เช่น การทำความสะอาดมัสญิด
- ไม่รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยในสถานการณ์ของมุสลิม
- ไม่รู้สึกมีความรับผิดชอบที่จะทำอะไรเพื่อส่งเสริมอิสลาม
- ไม่สามารถเผชิญกับความสูญเสียได้ เช่น ร้องไห้คร่ำครวญในงานศพ
- ชอบที่จะเถียงโดยไม่มีเหตุผล
- คิดแต่เรื่องของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
สัญญาณของการอ่อนศรัทธา
สัญญาณของการอ่อนศรัทธา
รถยนต์ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อการทำงานของเครื่องยนต์ฉันใด ชีวิตก็ต้องการพลังเพื่อผลักดันตัวตนไปสู่จุดหมายปลายทางฉันนั้น แต่พลังของชีวิตที่แท้จริงนั้นมิใช่อาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกาย หากแต่เป็นความศรัทธาที่จะตัดสินจุดหมายปลายของเราในภพหน้า ดังนั้น มุสลิมจึงต้องพยายามรักษาความศรัทธาให้เต็มอยู่เสมอเพื่อที่ชีวิตของเราจะได้เดินทางไปสู่จุดหมายนั้น และถ้าหากว่าท่านพบอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นกับตัวของท่าน ก็ขอให้รู้ว่านั่นคือสัญญาณเตือนให้รู้ว่าพลังแห่งความศรัทธาของท่านกำลังอ่อนลงแล้ว สัญญาณดังกล่าวได้แก่
ดังนั้น จงสำรวจตรวจสอบจุดต่างๆดังกล่าวมาอย่างสม่ำเสมอและพยายามเร่งปรับปรุงแก้ไขเสียเพื่อที่ชีวิตของเราจะได้ไปถึงปลายทางที่ดี
ซัมซัม : ของขวัญจากอัลลอฮฺ แก่บรรดาผู้ศรัทธา
ซัมซัม : ของขวัญจากอัลลอฮฺ แก่บรรดาผู้ศรัทธา
บันทึกการตรวจสอบและทดสอบ โดย ฏอรีก ฮุซเซน และมุอีนุดดีน อะหมัด
บรรจง บินกาซัน แปล
เมื่อช่วงเวลาแห่งการทำฮัจญ์เวียนมาถึงครั้งใด มันเตือนให้ผมนึกถึงความมหัศจรรย์แห่งน้ำซัมซัมทุกที สิ่งที่กลายเป็นความทรงจำของผมนี้เริ่มต้นในปี ค.ศ.1971 โดยการที่มีหมอชาวอียิปต์คนหนึ่งได้เขียนจดหมายไปเล่าให้หนังสือพิมพ์ยุโรปว่าน้ำซัมซัมไม่เหมาะสำหรับดื่ม
เดิมทีผมคิดว่านี่เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของความอคติที่มีต่อมุสลิมและคำพูดของหมอผู้นี้อาจจะอาศัยเหตุผลมาจากความคิดที่ว่าก๊ะอฺบ๊ะฮฺเป็นสถานที่ต่ำ(ใต้ระดับน้ำทะเล)และตั้งอยู่ในใจกลางเมืองมักก๊ะฮฺ น้ำเสียทั้งหลายของเมืองจะไหลมารวมกันในบ่อน้ำแห่งนี้
โชคดีที่กษัตริย์ไฟซอลแห่งซาอุดิอารเบียได้ยินข่าวนี้ พระองค์จึงโกรธเป็นอย่างมากและต้องการที่จะลบล้างคำพูดยั่วยุของหมอชาวอียิปต์คนนั้น พระองค์ได้มีบัญชาไปถึงกระทรวงทรัพยากรเกษตรและน้ำให้ทำการสอบสวนและได้ส่งตัวอย่างของน้ำซัมซัมไปยังห้องทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ในยุโรปเพื่อทดสอบว่าน้ำซัมซัมสามารถดื่มได้หรือไม่ ดังนั้น กระทรวงจึงได้สั่งให้โรงงานพลังงานและแยกเกลือญิดด๊ะฮฺทำการทดสอบ และที่โรงงานแห่งนี้เองที่ผมได้ถูกจ้างให้มาทำหน้าที่ในฐานะวิศวกรพิสูจน์น้ำ
ผมจำได้ว่าผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าบ่อน้ำซัมซัมมีอะไรอยู่และน้ำในบ่อนี้มีลักษณะเหมือนอะไร ผมได้ไปยังมักก๊ะฮฺและได้ไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ดูแลก๊ะอฺบ๊ะฮฺเพื่ออธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการมาของผม หลังจากนั้น พวกเขาก็ส่งคนผู้หนึ่งให้มาคอยช่วยเหลือผมตามที่ผมต้องการ เมื่อมาถึงบ่อน้ำ ผมแทบไม่เชื่อว่าบ่อน้ำซึ่งมีลักษณะเหมือนแอ่งน้ำเล็กๆแอ่งหนึ่งกว้างยาวประมาณ 18 x14 ฟุตจะเป็นบ่อน้ำที่ให้น้ำนับล้านแกลลอนทุกปีแก่บรรดาผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์นับตั้งแต่มันเกิดขึ้นมาในสมัยของนบีอิบรอฮีมเมื่อหลายพันปีก่อนหน้านี้
ผมเริ่มการตรวจสอบโดยเริ่มต้นจากการวัดขนาดของบ่อน้ำทั้งด้านกว้าง ด้านยาวและความลึก ผมขอให้คนผู้นั้นแสดงถึงความลึกของบ่อน้ำ เขาจึงเริ่มอาบน้ำชำระล้างตัวของเขาและลงไปในบ่อแล้วยืดตัวตรง ผมเห็นระดับน้ำสูงขึ้นมาแค่ไหล่ของเขาเท่านั้น เขาสูงประมาณ 5 ฟุต 8 นิ้ว หลังจากนั้น เขาก็ย้ายจากมุมหนึ่งของบ่อน้ำไปยังอีกมุมหนึ่งโดยไม่อนุญาตให้จุ่มหัวลงไปในน้ำเพื่อหาดูว่าในบ่อน้ำมีท่อน้ำมาจากที่ไหน อย่างไรก็ตาม คนผู้นั้นก็รายงานว่าเขาไม่พบท่อน้ำใดๆในบ่อน้ำ ผมจึงเกิดความคิดขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ การใช้ปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ในบ่อน้ำสูบน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมาขังไว้ในถังน้ำซัมซัม ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ระดับน้ำในบ่อลดลงอย่างรวดเร็วจนเราสามารถหาที่มาของน้ำได้
เป็นเรื่องน่าประหลาดที่เราไม่เห็นสิ่งใดในระหว่างที่มีการสูบน้ำออก แต่ผมรู้ว่านี่เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่เขาสามารถพบทางเข้าของน้ำมายังบ่อแห่งนี้ได้ ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจที่จะทำมันอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ ผมได้สั่งคนผู้นั้นให้ยืนอยู่ในที่แห่งหนึ่งและคอยเฝ้าดูสิ่งผิดปกติใดๆที่จะเกิดขึ้นในบ่อน้ำ หลังจากนั้นสักครู่หนึ่ง เขาก็ยกมือขึ้นและร้องตะโกนว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ผมพบมันแล้ว ทรายกำลังขยับตัวอยู่ใต้เท้าของผมขณะที่น้ำไหลซึมออกมาจากก้นบ่อ” หลังจากนั้น เขาก็เคลื่อนตัวไปรอบบ่อในระหว่างที่มีการปั๊มน้ำและสังเกตเห็นปรากฏการณ์อย่างเดียวกันทุกแห่งในบ่อน้ำ ความจริงแล้ว น้ำที่เข้ามาในบ่อนี้ไหลเข้ามาจากก้นบ่อทุกจุด ดังนั้น มันจึงรักษาระดับน้ำให้คงที่อยู่ตลอดเวลา
หลังจากเสร็จสิ้นการสังเกตการณ์แล้ว ผมก็นำตัวอย่างของน้ำไปทดสอบในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในยุโรป ก่อนที่ผมจะออกมาจากก๊ะอฺบ๊ะฮฺ ผมได้ถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องบ่อน้ำอื่นๆรอบมักก๊ะฮฺ และก็ได้ทราบว่าบ่อน้ำเหล่านั้นแห้งเกือบหมดแล้ว เมื่อไปถึงสำนักงานของผมในญิดด๊ะฮฺ ผมก็รายงานเรื่องการพบของผมให้นายของผมฟัง นายของผมฟังด้วยความสนใจอย่างมาก แต่ก็แสดงความเห็นที่ไร้เหตุผลว่าบ่อน้ำซัมซัมอาจจะเชื่อมโยงกับทะเลแดง เป็นไปได้อย่างไรในเมื่อมักก๊ะฮฺห่างจากทะเลประมาณ 75 กิโลเมตรและบ่อน้ำต่างๆที่ตั้งอยู่ก่อนจะถึงตัวเมืองล้วนแห้งขอดหมดแล้ว ? ผลของการทดสอบตัวอย่างน้ำโดยห้องทดลองของยุโรปและที่ถูกวิเคราะห์ในห้องทดลองของเรานั้นแทบจะเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน
ความแตกต่างระหว่างน้ำซัมซัมและน้ำอื่นๆในเมืองก็คือปริมาณเกลือแคลเซียมและเกลือแมกนีเซียม ปรากฏว่าในน้ำซัมซัมมีสารเหล่านี้สูงกว่านิดหน่อย นี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมน้ำซัมซัมจึงทำให้ผู้ทำฮัจญ์ที่เหนื่อยล้าเกิดความสดชื่น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ น้ำซัมซัมมีสารฟลูออไรด์ที่มีผลต่อการฆ่าเชื้อโรค
ยิ่งไปกว่านั้น คำพูดของผู้ปฏิบัติการในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในยุโรปก็แสดงว่าน้ำซัมซัมเหมาะสำหรับดื่ม ดังนั้น คำพูดของหมอชาวอียิปต์จึงถูกพิสูจน์ว่าเป็นคำพูดเท็จ เมื่อเรื่องนี้ได้ถูกรายงานถึงกษัตริย์ไฟซอล พระองค์ทรงยินดีมากและได้สั่งตอบโต้รายงานที่ลงในหนังสือพิมพ์ยุโรป ในด้านหนึ่ง มันเป็นเรื่องดีงามอย่างยิ่งที่การศึกษานี้ได้ถูกทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำซัมซัม ความจริงแล้ว ยิ่งเราค้นคว้ามากขึ้น เราก็จะพบความน่าประหลาดใจมากขึ้นซึ่งทำให้เราเชื่อในความมหัศจรรย์ว่าอัลลอฮฺได้ประทานมันเป็นของขวัญสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่เดินทางจากแดนไกลเพื่อมาทำฮัจญ์ยังแผ่นดินทะเลทรายแห่งนี้
ผมจึงอยากสรุปถึงลักษณะของน้ำซัมซัมว่าบ่อน้ำแห่งนี้ไม่เคยแห้งขอด ในทางตรงกันข้าม มันจะตอบสนองความต้องการน้ำอยู่เสมอ มันจะรักษาองค์ประกอบของเกลือและรสชาติอย่างเดียวกันนี้ไว้ตั้งแต่มันเกิดขึ้นมาแล้ว น้ำซัมซัมเป็นที่ยอมรับว่าใช้ดื่มได้ดังจะเห็นได้จากผู้มาเยี่ยมเยียนก๊ะอฺบ๊ะฮฺเพื่อทำฮัจญ์และอุมเราะฮฺได้ดื่มกันโดยไม่เคยมีใครบ่นถึงเรื่องนี้ แต่พวกเขากลับมีความสุขกับการดื่มน้ำซัมซัมที่ทำให้พวกเขาสดชื่น
น้ำซัมซัมไม่เคยผ่านกระบวนการเคมีบำบัดหรือใช้สารคลอรีนทำความสะอาดดังที่ปฏิบัติกันกับน้ำที่ถูกปั๊มเข้าไปในเมือง การเจริญเติบโตทางด้านชีวภาพและการเกิดขึ้นของพืชมักจะเกิดขึ้นในบ่อน้ำส่วนใหญ่ซึ่งทำให้น้ำมีรสชาติไม่ถูกปากอันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของตะไคร่ที่สร้างปัญหารสและกลิ่นขึ้นมา แต่ในกรณีของบ่อน้ำซัมซัมนั้น เราไม่เห็นสิ่งใดๆที่แสดงถึงการเจริญเติบโตทางด้านชีวภาพเลย
หลายศตวรรษก่อนหน้านี้ นางฮาญัรฺ แม่ของอิสมาอีลได้ออกแสวงหาน้ำในเนินเขาเศาะฟาและมัรวะฮ์ให้แก่ลูกของนางด้วยความสิ้นหวัง ขณะที่นางวิ่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อแสวงหาน้ำอยู่นั้น บ่อน้ำแห่งหนึ่งก็โผล่ขึ้นมาบนผิวดิน ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ บ่อน้ำแห่งนั้นได้กลายมาเป็นบ่อน้ำแห่งหนึ่งซึ่งถูกเรียกว่าซัมซัม
การนมาซ กุญแจไขไปสู่ชีวิตที่ดี
การนมาซ กุญแจไขไปสู่ชีวิตที่ดี
โดย มุซัมมิล ซิดดีกี
บรรจง บินกาซัน แปล
การปฏิบัตินมาซเป็นคำบัญชาของอัลลอฮฺ เป็นเสาหลักสำคัญที่สุดของอิสลาม เป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ไม่ศรัทธา การนมาซมิใช่ทางเลือก หากแต่เป็นหน้าที่ มิใช่ครั้งหนึ่งหรือสองสามครั้งในสัปดาห์ แต่จะต้องปฏิบัติวันละห้าเวลา บรรดานบีทั้งหลายล้วนบอกให้ผู้คนของท่านปฏิบัตินมาซและอิสลามถือว่าการนมาซเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศาสนา
บรรจง บินกาซัน แปล
การปฏิบัตินมาซเป็นคำบัญชาของอัลลอฮฺ เป็นเสาหลักสำคัญที่สุดของอิสลาม เป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ไม่ศรัทธา การนมาซมิใช่ทางเลือก หากแต่เป็นหน้าที่ มิใช่ครั้งหนึ่งหรือสองสามครั้งในสัปดาห์ แต่จะต้องปฏิบัติวันละห้าเวลา บรรดานบีทั้งหลายล้วนบอกให้ผู้คนของท่านปฏิบัตินมาซและอิสลามถือว่าการนมาซเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศาสนา
“จงรักษาการนมาซของสูเจ้า โดยเฉพาะการนมาซตรงกลาง และจงยืนต่อหน้าอัลลอฮฺดังบ่าวที่นอบน้อมด้วยความภักดี” (กุรอาน 2:238)
“จงนมาซตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยไปจนถึงความมืดของกลางคืน และจงอ่าน กุรอานในยามรุ่งอรุณ เพราะการอ่านกุรอานในยามรุ่งอรุณจะเป็นพยาน นอกจากนี้แล้ว จงนมาซตะฮัจญุดในยามกลางคืน นี่เป็นการนมาซเพิ่มเติมสำหรับเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่พระผู้อภิบาลของเจ้าจะได้ยกย่องเจ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ” (กุรอาน 17:78 -80)
“และจงดำรงนมาซในช่วงท้ายของวันและในยามต้นของกลางคืน แท้จริง ความดีจะช่วยขจัดความชั่ว นี่คือข้อตักเตือนสำหรับผู้ที่ระลึกถึงอัลลอฮฺ” (กุรอาน 11:114)
การนมาซด้วยความบริสุทธิ์ใจและจริงใจจะช่วยผู้ปฏิบัตินมาซให้เข้าสวรรค์ในโลกหน้าและมันเป็นกุญแจไขไปสู่ความดีทุกอย่าง ความจริงแล้ว ประโยชน์ของการนมาซนั้นมีมากมาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งในด้านวิญญาณ ด้านศีลธรรม ด้านกายภาพ และส่งผลดีถึงบุคคลและสังคม
การนมาซเป็นสายสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารกันระหว่างเรากับพระเจ้า ถ้าหากท่านรักอัลลอฮฺและต้องการให้อัลลอฮฺทรงรักท่าน ก็ขอให้รู้ว่าการนมาซคือสิ่งที่ทำให้อัลลอฮฺทรงรักท่าน ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า “สิ่งที่ทำให้ฉันเบิกบานใจก็คือการนมาซ” ท่านเคยสั่งบิลาลให้อะซาน(ประกาศ)เรียกคนมานมาซว่า “บิลาล ทำให้เราเบิกบานใจด้วยการนมาซหน่อยซิ” ท่านนบีเคยใช้เวลานานในการนมาซตอนกลางคืน บางครั้ง ท่านเคยใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของกลางคืนไปกับการนมาซและบางครั้งก็ใช้เวลาถึงครึ่งคืนหรือมากกว่านั้นก็มี เพราะท่านมีความสุขอยู่กับการนมาซซึ่งทำให้หัวใจของท่านเบิกบานและผ่องแผ้ว
การนมาซทำให้เราได้รับการตอบแทนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า โครงสร้างทั้งหมดของการนมาซก็สวยงามและน่าสนใจจนไม่มีการแสดงความเคารพสักการะในศาสนาใดๆสามารถมาเทียบได้ การนมาซมิใช่เป็นแค่เพียงการอ่านหรือการเคลื่อนไหวทางร่างกายเท่านั้น แต่ทุกส่วนของชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความคิด จิตวิญญาณและร่างกายจะมีส่วนร่วมกันอย่างกลมกลืนในระหว่างการนมาซ
การนมาซสามรถปฏิบัติตามลำพังเป็นการส่วนตัวหรือจะทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ จะทำในที่ส่วนตัวหรือจะทำในที่สาธารณะก็ได้ ถ้าเราปฏิบัตินมาซอย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของการนมาซ ทุกสิ่งในชีวิตของเราจะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าก็จะดีเพราะเราจะใช้ชีวิตด้วยความสำนึกถึงพระองค์อยู่เสมอ ความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัว กับผู้ร่วมงาน กับเพื่อนบ้าน กับทุกคนและทุกสิ่งก็จะพลอยดีไปด้วย
การเตรียมตัวนมาซด้วยการชำระล้างบางส่วนของร่างกายไม่เพียงแต่จะทำให้อวัยวะที่ถูกชำระล้างมีความสะอาดหมดจดสดชื่นเท่านั้น แต่มันยังเป็นการทำให้เราสะอาดหมดจดจากบาปวันละห้าครั้งด้วย อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอานว่าการนมาซจะช่วยขจัดความชั่วช้าลามกต่างๆให้หมดไป
“จงอ่านสิ่งที่ถูกประทานแก่เจ้าจากคัมภีร์และจงดำรงนมาซ แท้จริง การนมาซจะยับยั้งจากความลามกและการกระทำที่ชั่วช้า และการระลึกถึงอัลลอฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงรู้ดีถึงสิ่งที่สูเจ้าทำ” (กุรอาน 29:45)
ยิ่งไปกว่านั้น เรายังได้ถูกบอกไว้ในคัมภีร์กุรอานว่าบรรดาผู้ดำรงนมาซอยู่เป็นประจำนั้นจะไม่ประสบกับความหวาดวิตกหรือความกังวลเมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากด้วย อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ซึ่งมีความหมายว่า :
“แท้จริง มนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นผู้ที่ไม่อดทน เมื่อความทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้นกับเขา เขาก็กลัดกลุ้มตีโพยตีพาย แต่เมื่อความดีมาประสบแก่เขา เขาก็กลายเป็นผู้ตระหนี่นอกจากบรรดาผู้ทำนมาซ” (กุรอาน 70:19-23)
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการนมาซทำให้เราประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตโลกนี้และโลกหน้า อัลลอฮฺได้ทรงบอกไว้ในคัมภีร์กุรอานซึ่งมีความหมายว่า :-
“แน่นอน ความสำเร็จที่แท้จริงเป็นของบรรดาผู้ศรัทธาที่ปฏิบัตินมาซด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ผู้ที่หลีกห่างจากสิ่งไร้สาระทั้งหลาย ผู้ใช้จ่ายซะกาตของพวกเขาไปในทางที่เหมาะสม ผู้ที่ปกป้องรักษาสิ่งอันพึงสงวนของตัวเอง….ผู้รักษาการนมาซของพวกเขาอย่างเข้มงวด พวกเขาเหล่านี้คือทายาทที่จะได้รับมรดกแห่งสวรรค์และพวกเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นตลอดไป” (กุรอาน 23 : 1 -11)
ผลดีของการนมาซในชีวิตประจำวัน
การนมาซจำเป็นต้องมีความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้าและสถานที่สำหรับการนมาซ ดังนั้น คนที่นมาซเป็นประจำก็จะมีเสื้อผ้า ร่างกายและสภาพแวดล้อมที่สะอาด นอกจากนี้แล้ว การนมาซยังต้องทำในเวลาที่ได้ถูกกำหนดไว้ ดังนั้น การนมาซจะทำให้ผู้นมาซจะได้รับการปลูกฝังความรู้สึกถึงเรื่องความตรงต่อเวลาและเห็นคุณค่าของเวลา
ในการนมาซ มุสลิมจะต้องยืนอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการแบ่งแยกเรื่องเผ่าพันธุ์ สีผิว ฐานะทางการเงินหรือตำแหน่งทางการเมือง ผู้ทำนมาซร่วมกันจึงได้เห็นถึงแนวความคิดเรื่องความเสมอภาค ความสมานฉันท์และความเป็นพี่น้องกัน ในการนมาซร่วมกัน ผู้นมาซจะต้องยืนอยู่หลังอิมาม(ผู้นำนมาซ)และต้องปฏิบัติตามอิมาม นี่คือการฝึกวินัย ความมีระเบียบและการจัดองค์กร ยิ่งไปกว่านั้น หากอิมามทำผิดในระหว่างการปฏิบัตินมาซ ผู้ที่อยู่ข้างหลังก็สามารถตักเตือนได้(ด้วยการกล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ”) นี่เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
ดังนั้น ขอให้เรานมาซเป็นประจำและนมาซอย่างด้วยความตั้งใจ ทั้งนี้เพื่อที่ผลดีและความสวยงามของการนมาซจะได้สะท้อนออกมาจากชีวิตของเรา
มุอาซ สาวกคนหนึ่งของท่านนบีมุฮัมมัดได้รายงานว่า “วันหนึ่ง ท่านนบีได้จับมือฉันและกล่าวว่า ‘ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ฉันรักท่าน ดังนั้น ฉันจึงขอแนะทำท่าน มุอาซ หลังนมาซแล้ว อย่าลืมกล่าวคำต่อไปนี้ : โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทรงช่วยฉันให้รำลึกถึงพระองค์ ให้ขอบคุณพระองค์และเคารพสักการะพระองค์ในลักษณะที่ดีที่สุด’” (บันทึกโดยอันนะวะวี)
ถาม อิสลามมีกฎเกี่ยวกับการไปเยี่ยมสุสานฝังศพอย่างไร ? และการอาศัยที่ฝังศพ หรือการเชือดแพะและใช้ทรัพย์สินเป็นสื่อกลางในการเข้าใกล้พระเจ้ามีหรือไม่ในอิสลาม ?
ถาม: อิสลามมีกฎเกี่ยวกับการไปเยี่ยมสุสานฝังศพอย่างไร ? และการอาศัยที่ฝังศพ หรือการเชือดแพะและใช้ทรัพย์สินเป็นสื่อกลางในการเข้าใกล้พระเจ้ามีหรือไม่ในอิสลาม ?
ตอบ เชค อิบนุบาซ ผู้ตัดสินปัญหาศาสนาสูงสุดของซาอุดีอารเบียตอบว่า :-
การไปเยี่ยมสุสานฝังศพมีสองประเภท ประเภทแรกเป็นที่อนุมัติและเป็นที่สนับสนุน นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อวิงวอนให้ผู้ตายและขอความเมตตาให้แก่คนเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็เพื่อระลึกถึงความตายและเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า นี่เป็นสิ่งที่มีหลักฐานจากคำสอนของท่านนบีที่กล่าวว่า “จงไปเยี่ยมสุสาน เพราะว่ามันจะทำให้พวกท่านระลึกถึงโลกหน้า”
ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านเคยไปเยี่ยมหลุมฝังศพ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติเช่นนี้ก็มีไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้หญิง สำหรับผู้หญิงไม่มีคำสั่งให้พวกเธอไปเยี่ยมหลุมฝังศพ ความจริงแล้ว ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในในสุสานเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะว่าการไปเยี่ยมหลุมศพเป็นการทดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้หญิง นอกจากนี้แล้วก็เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าผู้หญิงมีความอดทนอดกลั้นน้อยกว่าผู้ชายและมักจะข่มความเศร้าโศกเสียใจของตนเองไว้ไม่ได้
อุมมุ อะฏียะฮฺได้กล่าวว่า “เราได้ถูกห้ามมิให้ตามขบวนศพ แต่ก็ไม่ได้เป็นการห้ามที่เข้มงวดนัก” นี่แสดงว่าผู้หญิงได้ถูกห้ามมิให้เดินตามขบวนศพไปยังสุสานด้วยกลัวว่ามันจะกลายเป็นการทดสอบสำหรับพวกเธอหรือเพราะว่าเธอไม่สามารถอดทนอดกลั้นได้
ส่วนการวิงวอนให้แก่ผู้ตาย(อย่างเช่นในการนมาซให้ศพ)นั้น เป็นที่อนุมัติสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
การเยี่ยมประเภทที่สองก็คือการเยี่ยมเยียนที่เป็นบาปและทำให้ตกศาสนา นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อกราบไหว้ศพและวิงวอนขอความช่วยเหลือจากศพหรือเพื่อเซ่นสรวงหรือสาบานต่อหลุมฝังศพ นี่เป็นความชั่วและเป็นรูปแบบหนึ่งของการชิริก(การนำสิ่งใดมาเป็นหุ้นส่วนกับอัลลอฮฺในการสักการะและวิงวอน) การกระทำที่ใกล้เคียงกับสิ่งนี้ก็คือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อทำพิธีอะไรบางอย่าง เช่น การอ่านกุรอานหรือการนมาซในสุสาน การกระทำเช่นนี้ไม่มีข้อกำหนดในอิสลามและเป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่การชิริก
ตอบ เชค อิบนุบาซ ผู้ตัดสินปัญหาศาสนาสูงสุดของซาอุดีอารเบียตอบว่า :-
การไปเยี่ยมสุสานฝังศพมีสองประเภท ประเภทแรกเป็นที่อนุมัติและเป็นที่สนับสนุน นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อวิงวอนให้ผู้ตายและขอความเมตตาให้แก่คนเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็เพื่อระลึกถึงความตายและเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า นี่เป็นสิ่งที่มีหลักฐานจากคำสอนของท่านนบีที่กล่าวว่า “จงไปเยี่ยมสุสาน เพราะว่ามันจะทำให้พวกท่านระลึกถึงโลกหน้า”
ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านเคยไปเยี่ยมหลุมฝังศพ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติเช่นนี้ก็มีไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้หญิง สำหรับผู้หญิงไม่มีคำสั่งให้พวกเธอไปเยี่ยมหลุมฝังศพ ความจริงแล้ว ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในในสุสานเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะว่าการไปเยี่ยมหลุมศพเป็นการทดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้หญิง นอกจากนี้แล้วก็เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าผู้หญิงมีความอดทนอดกลั้นน้อยกว่าผู้ชายและมักจะข่มความเศร้าโศกเสียใจของตนเองไว้ไม่ได้
อุมมุ อะฏียะฮฺได้กล่าวว่า “เราได้ถูกห้ามมิให้ตามขบวนศพ แต่ก็ไม่ได้เป็นการห้ามที่เข้มงวดนัก” นี่แสดงว่าผู้หญิงได้ถูกห้ามมิให้เดินตามขบวนศพไปยังสุสานด้วยกลัวว่ามันจะกลายเป็นการทดสอบสำหรับพวกเธอหรือเพราะว่าเธอไม่สามารถอดทนอดกลั้นได้
ส่วนการวิงวอนให้แก่ผู้ตาย(อย่างเช่นในการนมาซให้ศพ)นั้น เป็นที่อนุมัติสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
การเยี่ยมประเภทที่สองก็คือการเยี่ยมเยียนที่เป็นบาปและทำให้ตกศาสนา นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อกราบไหว้ศพและวิงวอนขอความช่วยเหลือจากศพหรือเพื่อเซ่นสรวงหรือสาบานต่อหลุมฝังศพ นี่เป็นความชั่วและเป็นรูปแบบหนึ่งของการชิริก(การนำสิ่งใดมาเป็นหุ้นส่วนกับอัลลอฮฺในการสักการะและวิงวอน) การกระทำที่ใกล้เคียงกับสิ่งนี้ก็คือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อทำพิธีอะไรบางอย่าง เช่น การอ่านกุรอานหรือการนมาซในสุสาน การกระทำเช่นนี้ไม่มีข้อกำหนดในอิสลามและเป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่การชิริก
วันศุกร์ : วันพิเศษสำหรับมุสลิม
วันศุกร์ : วันพิเศษสำหรับมุสลิม
ท่านนบีมุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวว่า : “วันที่ดีที่สุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นคือวันศุกร์ วันนั้นเป็นวันที่อาดัมถูกสร้าง วันที่ท่านได้ถูกนำเข้าสวรรค์ วันที่ท่านได้ถูกขับออกจากที่นั่น และยามอวสานจะเกิดขึ้นในวันศุกร์” (รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ)
ท่านนบีฯจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่วันศุกร์เป็นอย่างมาก ท่านมีคำแนะนำต่างๆให้เราปฏิบัติในวันนั้นและท่านเองก็ได้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง เช่น ในวันศุกร์ ท่านแนะนำให้อ่านกุรอานซูเราะฮฺ อัซ-ซัจญ์ด๊ะฮฺและซูเราะฮฺ อัล-อินซานในการนมาซก่อนรุ่งอรุณเพราะมันครอบคลุมกิจการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวันศุกร์ ท่านสั่งให้อาบน้ำ ใช้น้ำหอม แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดและไปมัสญิดเพื่อนมาซวันศุกร์ให้เร็ว เมื่อไปถึงมัสญิดแล้วให้นมาซเคารพมัสญิด หากมีเวลาหลังนมาซก็ให้อ่านกุรอานและรำลึกถึงอัลลอฮให้มากๆ และนิ่งฟังคุฏบ๊ะฮฺ (ปาฐกถาธรรม) ด้วยความตั้งใจ เมื่อท่านนบีฯยืนอยู่บนแท่นมิมบัรฮ(แท่นยืนเทศนา)เพื่อกล่าวคำเทศนาประจำวันศุกร์ ดวงตาของท่านจะแดงเป็นประกายและท่านจะพูดเสียงดัง อย่างไรก็ตาม ท่านจะใช้เวลากล่าวคำเทศนาสั้นๆ แต่จะใช้เวลานมาซยาว
การไปนมาซวันศุกร์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามที่อัลลอฮทรงประทานแก่มุสลิมและเป็นวันที่บรรดาผู้ศรัทธาควรจะมีความรู้สึกรื่นเริงยินดีเนื่องจากมีโอกาสที่ได้ไปร่วมนมาซกับผู้ศรัทธาคนอื่นๆ โดยปกติแล้ว วันศุกร์จะเป็นวันหยุดในประเทศมุสลิม วันศุกร์ได้ถูกกล่าวไว้ในกุรอานและคำว่าวันศุกร์(ญุมุอ๊ะฮ)ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อซูเราะฮฺหนึ่งของคัมภีร์กุรอานด้วย นั่นหมายความว่าอัลลอฮฺได้ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่วันศุกร์ ดังนั้น อัลลอฮฺจึงมีคำสั่งสำคัญให้เราปฏิบัติตามในวันศุกร์ดังนี้ :-
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เมื่อมีการประกาศให้ไปนมาซในวันศุกร์ ดังนั้น สูเจ้าจงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮและจงทิ้งการค้าขายทั้งหลายเสีย นั่นเป็นการดีกว่าสำหรับสูเจ้า ถ้าหากสูเจ้ารู้ และเมื่อการนมาซเสร็จสิ้นแล้ว สูเจ้าก็จงแยกย้ายกันไปบนหน้าแผ่นดินเพื่อแสวงความโปรดปรานของอัลลอฮ และจงรำลึกถึงอัลลอฮอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่สูเจ้าจะประสบผลสำเร็จ” (กุรอาน 62:9-10)
การนมาซวันศุกร์(เศาะลาตุลญุมุอ๊ะฮฺ)เป็นหน้าที่สำคัญสำหรับมุสลิมชายทุกคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่สามารถไปร่วมนมาซได้และจะต้องไม่ขาดนมาซวันศุกร์เว้นเสียแต่ว่าจะมีเหตุผลจำเป็นจริงๆ การนมาซวันศุกร์เป็นการทดแทนการนมาซประจำตอนบ่าย(ซุฮฺรี่) ที่สำคัญก็คือ การนมาซวันศุกร์อย่างถูกต้องสมบูรณ์เป็นการชดใช้บาปบางอย่าง มันจะขจัดบาปเล็กๆที่เกิดขึ้นระหว่างการนมาซวันศุกร์ที่แล้วจนถึงนมาซวันศุกร์ครั้งหลังสุด การนมาซวันศุกร์มีความสำคัญแค่ไหนนั้นจะเห็นได้จากการที่ท่านนบีฯเคยถึงกับขู่ว่าจะเผาบ้านของคนที่ไม่ไปนมาซวันศุกร์ นอกจากนี้แล้ว อัลลอฮฺจะทรงปิดหัวใจของบรรดาผู้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการนมาซวันศุกร์และหัวใจของคนที่พลาดการนมาซวันศุกร์สามครั้งต่อเนื่องกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร
ผู้หญิง เด็ก คนเดินทางและคนป่วยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมนมาซวันศุกร์ การเดินทางในวันศุกร์เป็นที่อนุญาต แต่ผู้เดินทางควรจะเริ่มต้นการเดินทางก่อนเวลาประกาศ(อะซาน)ให้ไปนมาซวันศุกร์ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นจริงๆ ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณที่ตั้งของมัสญิดจะต้องไปนมาซวันศุกร์ถ้าหากว่ามีความสามารถ แต่ถ้าหากอากาศและสภาพแวดล้อมไม่ดี การนมาซวันศุกร์อาจถูกยกเลิกได้
การไปร่วมนมาซวันศุกร์แต่เนิ่นๆนั้นมีผลบุญอันยิ่งใหญ่เป็นสิ่งตอบแทน กล่าวคือ การออกไปนมาซวันศุกร์แต่เนิ่นๆทำให้คนผู้นั้นได้รับผลบุญตอบแทนในการรอคอยการนมาซ การนั่งรำลึกถึงอัลลอฮ การนมาซสุนัตในระหว่างเวลานั้น อบูอุมามะฮฺได้เล่าว่าท่านนบีได้กล่าวว่า : “ มลาอิก๊ะฮฺจะมานั่งที่หน้าประตูมัสญิดโดยมีแผ่นบันทึกไว้คอยบันทึกคนที่มายังมัสญิด เมื่ออิมามปรากฏตัว แผ่นบันทึกนั้นก็จะถูกม้วน” เมื่ออบูอุมามะฮฺถูกถามว่า “คนที่มาหลังจากอิมามจะยังคงได้นมาซวันศุกร์หรือไม่ ?” เขาตอบว่า “ได้แน่นอน แต่เขาไม่ได้อยู่ในหมู่ผู้ที่ถูกบันทึกไว้เหมือนคนที่มาเร็ว” (อะหมัดและอัฏ-เฏาะบะรอนี)
การปฏิบัติตัวตามแบบอย่างคำสอนของท่านนบีในวันศุกร์
- อาบน้ำทั่วร่างกายก่อนที่จะออกไปยังมัสญิดเหมือนกับการอาบน้ำชำระฮะดัษใหญ่
- แปรงฟันและใช้น้ำหอมอ่อนๆประทินร่างกาย ขลิบหนวด ถอนขนรักแร้ โกนขนใต้ร่มผ้าและตัดเล็บ
- ใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและประณีตเรียบร้อย ท่านนบีได้กล่าวว่า “ถ้าหากเป็นไปได้ เขาก็ควรจะซื้อเสื้อผ้าไว้สองชุดนอกเหนือไปจากชุดทำงานทั้งนี้เพื่อไว้ใส่ในวันศุกร์” (รายงานโดยอบูดาวูด) คำพูดนี้สำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงนั้นสามารถไปนมาซวันศุกร์ได้ถ้าหากแต่งตัวปกปิดร่างกายมิดชิดและไม่ใช้นำหอมและการไปมัสญิดจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆติดตามมา
- รำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกรุลลอฮฺ)ให้มากๆและวิงวอนขอพรทั้งก่อนและหลังการนมาซ
- ทำทานก่อนการนมาซ
ข้อแนะนำทั่วไป
ยังมีสิ่งดีๆอีกบางอย่างที่ควรทำสำหรับคนที่จะไปนมาซวันศุกร์ นั่นคือ หากเดินไปมัสญิดได้ก็ควรเดินเพราะทุกก้าวที่เดินไปมัสญิดนั้นมีผลบุญตอบแทน เมื่อเข้าไปในมัสญิดแล้วก็ไม่ควรเดินข้ามผู้คนไปยังจุดหนึ่งจุดใดเป็นการเฉพาะในมัสญิด ไม่ควรเข้าไปแทรกนั่งระหว่างคนสองคนที่นั่งอยู่ด้วยกัน ไม่ควรใช้วิธีการทำให้คนอื่นยืนขึ้นแล้วตัวเองเข้าไปนั่งแทนที่ ไม่ควรนั่งกอดเข่าในขณะรอการนมาซ ควรจะเข้าไปนั่งแถวหน้าใกล้อิมามหากเป็นไปได้ ขณะที่ฟังการกล่าวคำเทศนาจะต้องไม่พูดหรือทำสิ่งใด ควรจะไปมัสญิดในสภาพที่สงบและไม่เร่งรีบ ควรอ่านกุรอานซูเราะฮอัล-กะฮฺฟี่เพราะมีฮะดีษที่เชื่อถือได้กล่าวว่า : “ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮฺ อัล-ก๊ะฮฟี่ในวันศุกร์ มันจะเป็นแสงสว่างสำหรับเขาจากวันศุกร์นั้นถึงวันศุกร์ถัดไป” (บันทึกโดยอัล-บัยฮะกีและอัล-ฮากิม) จะอ่านในเวลาไหนก็ได้ และถ้าหากรู้สึกง่วง ก็ควรจะลุกขึ้นย้ายไปนั่งที่อื่น
ข้อห้ามพิเศษในวันศุกร์
- ห้ามการซื้อขายหลังจากที่ได้มีการประกาศ(อะซาน)ให้คนมานมาซเป็นที่ต้องห้ามจนกว่าการนมาซจะเสร็จสิ้นแล้ว
- ห้ามการนมาซเพิ่มเติมเมื่ออิมามกำลังเดินไปกล่าวคำเทศนา ถ้าหากใครมานมาซช้าในขณะที่อิมามกำลังกล่าวคุฏบ๊ะฮ ก็ให้นมาซเคารพมัสญิดสองร็อกอัตและนั่งลงหรือไม่ต้องนมาซก็ได้ แต่ที่ดีกว่าก็คือให้นมาซสองร็อกอัต ทั้งนี้เพราะมีฮะดีษของท่านนบีฯกล่าวว่า : “ถ้าหากผู้ใดในหมู่พวกท่านมายังมัสญิด เขาก็ควรนมาซสองร็อกอัตก่อนที่จะนั่งลง” (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม) อย่างไรก็ตาม การนมาซเคารพมัสญิดไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้กล่าวคุฏบ๊ะฮ และการนมาซสองร็อกอัตนี้ก็จำเป็นแต่เฉพาะการนมาซในมัสญิดเท่านั้น
- ห้ามการพูดในขณะที่อิมามกำลังกล่าวคำเทศนาหรือสนใจอยู่กับคำพูดหรือการกระทำใดๆที่เบนความสนใจไปจากการตั้งใจฟังอิมาม
- ห้ามการเดินข้ามคอของคนที่นั่งอยู่ อัต-ติรฺมีซีกล่าวว่าคนมีความรู้ไม่ชอบที่จะให้ใครเดินข้ามคอของผู้คน อับดุลลอฮ อิบนุ บุศร์กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งได้เดินข้ามหัวคนในขณะที่ท่านนบีกำลังกล่าวคุฎบ๊ะฮวันศุกร์ ท่านจึงได้บอกให้คนผู้นั้นว่า ‘นั่งลง ท่านกำลังทำให้คนเดือดร้อนและท่านมาสาย’ ”
- ห้ามการจัดนมาซวันศุกร์ในสองมัสญิดในท้องถิ่นเดียวกันโดยไม่จำเป็น เมื่อการนมาซวันศุกร์ได้ถูกจัดให้มีขึ้นในท้องถิ่นใดเป็นที่ถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว การนมาซในท้องถิ่นอื่นก็ใช้ไม่ได้ยกเว้นในท้องถิ่นใหญ่ที่มัสญิดเพียงหนึ่งแห่งไม่เพียงพอสำหรับผู้คนในท้องถิ่นนั้น
จะปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างไรเมื่อพ่อแม่ไม่พอใจที่เราเข้ารับอิสลาม ?
จะปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างไรเมื่อพ่อแม่ไม่พอใจที่เราเข้ารับอิสลาม ?
คนที่เข้ารับอิสลามและไม่ถูกพ่อแม่ต่อต้านนั้นถือว่าเป็นผู้โชคดี แต่มิใช่ว่าทุกคนที่เข้ารับอิสลามจะโชคดีเช่นนั้นเสมอไป เพราะบางคนถูกพ่อแม่แอนตี้จนลำบากใจในการที่จะดำรงชีวิตมุสลิม ความจริงแล้ว เรื่องเช่นนี้มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบัน หากแต่มีมานานแล้ว แม้แต่ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัดเอง
สำหรับคนที่เจอปัญหาพ่อแม่ไม่พอใจที่ตัวเองเข้ารับอิสลาม ลองอ่านเรื่องราวจากบทความนี้ดู เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยในการปฏิบัติต่อพ่อแม่ของตนซึ่งถือว่าเป็นผู้มีพระคุณสูงสุดในบรรดามนุษย์ด้วยกัน
ครั้งหนึ่ง แม่ของซะด์ บิน อบีวักกอศ สาวกคนหนึ่งของท่านศาสดามุฮัมมัดสาบานว่านางจะไม่พูดกับเขาและนางจะไม่กินและไม่ดื่มจนกว่าเขาจะเลิกนับถืออิสลาม นางหยิบยกเอาคำสอนของอิสลามมากล่าวอ้างว่า “อัลลอฮฺได้สั่งเจ้าให้เชื่อฟังพ่อแม่ ฉันเป็นแม่ของเจ้า ดังนั้น เจ้าจะต้องเชื่อฟังฉัน” หลังจากนั้น นางก็ทำตามที่นางได้กล่าวไว้ ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงได้ประทานกุรอานต่อไปนี้ลงมาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้มาเข้ารับอิสลามและประสบปัญหาดังกล่าวได้นำไปปฏิบัติ :
“เราได้กำชับมนุษย์ให้ทำดีต่อพ่อแม่ของเขา แต่ถึงกระนั้น หากเขาทั้งสองบังคับให้สูเจ้าเคารพสักการะสิ่งใดควบคู่ไปกับฉันซึ่งสูเจ้าไม่มีความรู้ ก็จงอย่างเชื่อฟังทั้งสอง” (กุรอาน 29 :8)
นอกจากนี้แล้ว อัลลอฮฺยังได้ทรงกล่าวอีกว่า :
“หากทั้งสองบังคับสูเจ้าให้นำสิ่งใดมาเป็นพระเจ้าร่วมกับฉันโดยที่สูเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น สูเจ้าจงอย่าได้เชื่อฟังเขาทั้งสอง แต่ถึงกระนั้นก็จงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดี” (กุรอาน 31:15)
คัมภีร์กุรอานทั้งสองวรรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้นพูดถึงเรื่องการปฏิบัติต่อพ่อแม่ที่มิใช่มุสลิมไว้อย่างชัดเจน เราจะต้องไม่คิดว่าการเชื่อฟังพ่อแม่ในเรื่องของการปฏิเสธพระเจ้าและเรื่องบาปเป็นสิ่งดีหรือเห็นว่าเป็นเรื่องของการทำความดีต่อพ่อแม่ สิทธิของอัลลอฮฺนั้นต้องมาก่อนใครอื่นใดเสมอสำหรับมุสลิม
นอกจากนั้นแล้ว การเชื่อฟังก็มิได้หมายถึงการเข้าไปทำสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งที่ละเมิดขอบเขตคำสั่งของอัลลอฮฺ ยิ่งในสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมหลายศาสนาด้วยแล้ว ผู้ที่มาเข้ารับอิสลามจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเทศกาลต่างๆซึ่งบางครั้งเราอาจจะมีความจำเป็นต้องกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ เช่น วันตรุษจีน วันคริสต์มาส วันสงกรานต์ ปีใหม่ หรือแม้แต่วันเวลาไทน์ที่คนไทยลอกเลียนจนเกินฝรั่งและอื่นๆ เทศกาลเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากความเชื่อทางศาสนาหรือไม่ก็จะมีเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น มุสลิมจึงไม่อาจไปเข้าร่วมได้เลย ดังนั้น ถ้าคิดว่าความศรัทธาเราไม่แข็งพอหรือเราไม่สามารถทนการรบเร้าของพ่อแม่ญาติพี่น้องให้ทำในสิ่งที่เกินขอบเขตของอิสลามก็ไม่ควรจะกลับไปพบปะพ่อแม่ญาติพี่น้องของตนในระหว่างเทศกาลดังกล่าว
อย่าตัดความสัมพันธ์กับพ่อแม่และญาติพี่น้อง
ถึงจะถูกต่อต้านอย่างไรก็ตาม อิสลามก็ห้ามตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ประการแรก ขอให้เราตระหนักว่านี่คือการทดสอบจากอัลลอฮฺ เพราะอัลลอฮฺได้กล่าวไว้แล้วว่าพระองค์จะไม่ปล่อยให้ใครกล่าวว่าตัวเองเป็นผู้ศรัทธาโดยไม่ถูกทดสอบ และประการที่สอง ลองอ่านความหมายของกุรอาน 31:15 ข้างต้นดีๆอีกทีหนึ่ง เราจะพบว่ากุรอานมิได้สั่งให้ “ตัดความสัมพันธ์” หากแต่สั่งว่า “จงอย่าเชื่อฟัง” ในเรื่องของการนำสิ่งใดมาเป็นที่เคารพสักการะและวิงวอนควบคู่ไปกับอัลลอฮฺต่างหาก ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เป็นการทำความดีต่อพ่อแม่ในชีวิตแห่งโลกนี้ เราก็ยังคงต้องปฏิบัติอยู่เหมือนเดิมและต้องดีกว่าเก่าด้วยซ้ำ เพราะพ่อแม่ของเรายังคงมีสิทธิ์เหนือเราอยู่ ดังนั้น เราจึงต้องรักษาความสัมพันธ์กับท่านไว้ให้ดีที่สุด
ครั้งหนึ่ง อัสมาอ์ลูกสาวของอบูบักรฺเพื่อนสนิทของท่านศาสดามุฮัมมัดได้อพยพมายังมะดีนะฮฺกับพ่อของเธอ หลังจากการทำสัญญาฮุดัยบียะฮฺซึ่งทำให้มุสลิมสามารถไปมาหาสู่กันได้ แม่ของเธอได้มาเยี่ยมเธอที่มะดีนะฮฺ ก่อนที่จะเดินทางกลับ นางได้ขอของขวัญบางอย่างจากอัสมา แต่อัสมาไม่แน่ใจเพราะว่าแม่ของเธอเกลียดชังอิสลามและเป็นผู้บูชาเทวรูป เธอจึงไปหาท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) และถามว่าเธอควรจะปฏิบัติตัวกับแม่ของเธออย่างไรและสามารถให้ของขวัญแก่แม่ของเธอได้หรือไม่ ท่านศาสดาได้ตอบว่า “ได้สิ และจงปฏิบัติกับแม่ของเธออย่างดี”
สิ่งที่ดีที่สุดที่ลูกจะทำได้ในขณะที่พ่อแม่ยังมีชีวิต
ผู้ที่มีพ่อแม่มิใช่มุสลิมสามารถที่จะวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้พ่อแม่ของตัวเองได้ อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า “ไม่เป็นการเหมาะสมสำหรับนบีและบรรดาผู้ศรัทธาที่จะวิงวอนขอพระเจ้าให้อภัยโทษแก่บรรดาผู้ตั้งภาคีถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติสนิทก็ตามหลังจากที่ได้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นชาวนรก” (กุรอาน 9:13)
ที่กล่าวมานั้นหมายความว่าหลังจากที่พ่อแม่ของเราได้เสียชีวิตไปแล้วในสภาพที่มิใช่มุสลิม อย่างไรก็ตาม อิสลามก็อนุญาตให้ลูกชักชวนพ่อแม่มาสู่อิสลามในขณะที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิต
ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) อบูฮุร็อยเราะฮฺสาวกของท่านคนหนึ่งได้มาเข้ารับอิสลาม แต่แม่ของเขายังคงเป็นผู้ปฏิเสธพระเจ้า ท่านได้พยายามที่จะชักชวนแม่ของเขาให้มาเข้ารับอิสลามอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังคงเคารพและเชื่อฟังแม่มาโดยตลอด ครั้งหนึ่ง เมื่อเขาพยายามเชิญชวนแม่ให้มาสู่อิสลาม แต่แม่ของเขากลับกล่าวคำพูดที่ดูถูกท่านศาสดา อบูฮุร็อยเราะฮฺรู้สึกเจ็บปวดมาก ดังนั้น เขาจึงได้ไปหาท่านนบีและกล่าวว่า “ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ฉันพยายามทุกอย่างที่จะทำให้แม่ของฉันยอมรับอิสลาม แต่แม่ปฏิเสธตลอดเวลา วันนี้ เมื่อฉันขอให้แม่ศรัทธาในอัลลอฮฺผู้สูงส่ง แม่กลับไม่พอใจเป็นอย่างมากและพูดจาดูถูกท่านจนฉันต้องน้ำตาไหลเพราะทนไม่ได้ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ โปรดวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงเปิดหัวใจของแม่ฉันให้มาสู่อิสลามด้วยเถิด” ท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้ยกมือของท่านขึ้นทันทีและวิงวอนว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ โปรดทรงนำทางแม่ของอบูฮุร็อยเราะฮฺด้วยเถิด” เมื่อได้ยินเช่นนั้น อบูฮุร็อยเราะฮฺก็ดีใจและได้กลับไปบ้าน
เมื่อเขามาถึงบ้าน เขาก็พบว่าประตูถูกปิดสลักอยู่ทางด้านใน แต่เขาได้ยินเสียงน้ำไหลซึ่งแสดงว่าแม่ของเขากำลังอาบน้ำอยู่ หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว แม่ของเขาก็มาเปิดประตู และเมื่อเขาเข้าไปข้างในบ้าน แม่ของเขาก็กล่าวว่า “ลูกเอ๋ย อัลลอฮฺทรงได้ยินเจ้า จงเป็นพยานด้วยว่าแม่กล่าวชะฮาด๊ะฮฺ(คำปฏิญาณเข้ารับอิสลาม)” เมื่อได้ยินเช่นนั้น อบูฮุร็อยเราะฮฺก็ร้องไห้ออกมาด้วยยินดีและเขาได้ไปหาท่านศาสดาเพื่อบอกท่านว่าอัลลอฮฺได้ทรงรับคำวิงวอนของท่านแล้ว ท่านศาสดาได้สรรเสริญอัลลอฮฺและได้ให้ข้อแนะนำบางอย่างแก่อบูฮุร็อยเราะฮฺ หลังจากนั้นท่านก็วิงวอนต่ออัลลอฮฺว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ทรงประทานความรักของอบูฮุร็อยเราะฮฺกับแม่ของเขาลงในหัวใจของมุสลิมที่แท้จริงทุกคนและขอพระองค์ทรงประทานความรักของมุสลิมที่แท้จริงทุกคนลงในหัวใจของคนทั้งสองด้วยเถิด”
สรุปก็คือ ถ้าหากว่ามันไม่ใช่เรื่องของความเชื่อและเรื่องรากฐานของอิสลามแล้ว กฎที่จะต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่และญาติใกล้ชิดก็คือจงทำดีกับคนเหล่านั้นให้มากที่สุด การให้ความรักและการปฏิบัติด้วยดีต่อคนเหล่านั้นมิใช่แค่เพียงหน้าที่ของเราเท่านั้น หากแต่มันยังเป็นสิ่งที่จะทำให้คนเหล่านั้นยอมรับอิสลามด้วย นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำให้แก่พ่อแม่ของเราที่มิใช่มุสลิม
ริษยา : โรคร้ายที่ทำลายความดี
ริษยา : โรคร้ายที่ทำลายความดี
หากศึกษากันให้ลึกๆแล้ว เราจะพบว่าเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับมนุษย์บนโลกนี้ล้วนมีสาเหตุมาจากอารมณ์ภายในจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น ที่ต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันทุกวันนี้ก็มิเพราะความอิจฉาริษยา ความโลภและความอยากได้ใคร่มีเหนือกว่าคนอื่นกระนั้นหรือ ?
ลำพังความอิจฉายังถือว่าเป็นเรื่องที่พอรับได้ เพราะอิจฉาแปลว่าความต้องการหรือความปรารถนาซึ่งมนุษย์ต่างก็มีด้วยกันทั้งนั้น และความต้องการนี้เองที่ผลักดันให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ถ้าความอิจฉามีความริษยาติดตามมาด้วย ความเสียหายก็จะติดตามมาทันที เพราะความริษยาหมายถึงความไม่ต้องการให้คนอื่นได้ดีหรือเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้และคิดที่จะทำลายคนที่ตัวเองริษยา
ซาตาน ต้นตำนานความริษยา
ในคัมภีร์กุรอานมีคำบอกเล่าให้เราทราบว่าเมื่อพระเจ้าทรงสร้างอาดัมขึ้นมาพร้อมกับประทานความสามารถต่างๆให้แล้ว พระองค์ยังได้ทรงสอนความรู้ต่างๆให้แก่อาดัมอีกด้วย ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงต้องการให้อาดัมเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน ด้วยความรู้ที่อาดัมได้รับนี้เอง พระเจ้าจึงได้ทรงบัญชาให้ทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมายอมสิโรราบต่ออาดัม ซึ่งหมายความว่านับแต่นี้ต่อไป ทุกสรรพสิ่งจะต้องยอมสยบอยู่ภายใต้ความรู้ที่พระเจ้าประทานแก่มนุษย์
คัมภีร์กุรอานเล่าต่อไปว่าทุกสรรพสิ่งยอมสิโรราบต่อมนุษย์หมด ยกเว้นซาตานมารร้ายที่ไม่ยอมทำตามเพราะมันทะนงตนว่ามันถูกสร้างมาจากไฟ แต่มนุษย์ถูกสร้างมาจากดิน เรื่องอะไรที่มันจะต้องไปยอมก้มกราบสิโรราบให้แก่มนุษย์ที่ถูกสร้างมาจากสิ่งที่ต่ำกว่ามัน ด้วยการปฏิเสธคำบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงสร้างมันนี้เอง มันจึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์ แต่ก่อนที่จะออกมา มันได้ทูลต่อพระเจ้าว่าในฐานะที่พระองค์เห็นอาดัมดีกว่ามัน มันจะขอหลอกลวงลูกหลานของอาดัมไปจนถึงวันอวสานของโลกและมันยังท้าให้พระองค์คอยดูว่าในบรรดาลูกหลานของอาดัมนั้น มีน้อยคนนักที่จะกตัญญูรู้คุณต่อพระองค์
ด้วยความริษยานี้เองที่ซาตานมารร้ายได้แอบกระซิบล่อลวงอาดัมให้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้าที่ห้ามเข้าใกล้ต้นไม้ต้นหนึ่งในสวนสวรรค์ เมื่ออาดัมหลงเชื่อมารร้าย เขาจึงเข้าใกล้ต้นไม้นั้นและเผลอตัวไปกินผลไม้จากต้นไม้นั้นเข้า แผนร้ายของซาตานที่เกิดขึ้นจากความริษยาก็เป็นผลทันที กล่าวคือ อาดัมได้ถูกส่งมายังโลกนี้พร้อมกับฮาวา(อีฟ) แต่ก่อนจะถูกส่งมายังโลกนี้ พระเจ้าได้บอกอาดัมให้รู้ว่าซาตานมารร้ายจะเป็นศัตรูกับเขาและลูกหลานของเขาไปจนถึงวันอวสาน แต่ซาตานมารร้ายก็ไม่มีอำนาจบังคับมนุษย์ให้เชื่อมัน เพราะมนุษย์นอกจากจะได้รับสติปัญญาแล้ว มนุษย์ยังได้รับคำสอนทางศาสนาที่เฉลยว่าอะไรดีอะไรชั่วและมีสิทธิ์จะเลือกปฏิบัติด้วย ดังนั้น มนุษย์จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองตัดสินใจเลือกไป
นับแต่นั้นมา ซาตานมารร้ายก็ทำหน้าที่ของมันมาโดยตลอด
เพราะแรงริษยา พี่จึงฆ่าน้อง
เรื่องราวในคัมภีร์กุรอานและประวัติศาสตร์ศาสนายังกล่าวต่อไปอีกว่าเมื่ออาดัมและฮาวาถูกส่งมายังโลกใบนี้ ทั้งสองมีลูกหลายคน ในจำนวนนี้เป็นลูกแฝดชายหญิงสองคู่ที่ชื่อว่ากอบีลและฮาบีล ทั้งสองพี่น้องนี้ต่างมีน้องสาวเป็นคู่แฝด
เมื่อลูกโตขึ้น อาดัมต้องการให้กอบีลแต่งงานกับน้องสาวของฮาบีล และให้ฮาบีลแต่งงานกับน้องสาวของกอบีลเพื่อขยายเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่กอบีลต้องการจะแต่งงานกับน้องสาวของตัวเองเพราะน้องสาวของตัวเองสวยกว่าน้องสาวของฮาบีล อาดัมจึงต้องแก้ปัญหาโดยการให้กอบีลและฮาบีลนำสิ่งพลีมาถวายพระเจ้าและดูว่าพระเจ้าจะรับสิ่งถวายจากใคร ถ้าพระเจ้ารับของถวายจากกอบีล เขาก็ได้แต่งงานกับน้องสาวของตัวเอง
แต่ผลปรากฏว่าพระเจ้ารับสิ่งพลีที่ฮาบีลนำมาถวาย นั่นหมายความว่าฮาบีลจะได้แต่งงานกับน้องสาวของกอบีล ด้วยเหตุนี้เอง กอบีลจึงวางแผนฆ่าฮาบีลน้องของตัวเองเพราะแรงริษยาซึ่งถือว่าเป็นการกระทำฆาตกรรมครั้งแรกบนโลกมนุษย์
กรณีของยูซุฟ
ยะกู๊บหรือยาโกบผู้ได้ฉายาว่าอิสราเอลมีลูกชาย 12 คน ในจำนวนนี้มีคนหนึ่งชื่อยูซุฟซึ่งเป็นเด็กน่ารักและเชื่อฟังพ่อแม่ ยะกู๊บจึงรักลูกชายคนนี้มาก แต่ความรักที่ยะกู๊บมีต่อยูซุฟทำให้พี่ชายสิบคนเกิดความริษยาและหาทางวางแผนกำจัดน้องชายของตนด้วยการหลอกพ่อขอพายูซุฟออกไปเที่ยวนอกบ้าน เมื่อไกลจากสายตาพ่อ พวกพี่ๆก็จับยูซุฟโยนลงไปในบ่อน้ำนอกหมู่บ้าน หลังจากนั้นก็กลับไปโกหกพ่อว่ายูซุฟถูกหมาป่ากัดและลากตัวไปกิน
แต่ชะตากรรมมิใช่สิ่งที่มนุษย์เป็นผู้กำหนด พระเจ้าต่างหากที่เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของมนุษย์ ยูซุฟที่พวกพี่ๆคิดว่าตายแล้วกลับรอดตายเพราะกองคาราวานมาพบยูซุฟในบ่อน้ำและได้นำตัวเขาไปขายให้แก่ผู้มีอำนาจในอียิปต์
เนื่องจากยูซุฟได้ถูกพระเจ้าเลือกให้เป็นนบีและมีความรู้ในเรื่องการทำนายฝัน ยูซุฟสามารถทำนายฝันให้แก่กษัตริย์ว่าอียิปต์จะเกิดความแห้งแล้งในอีกเจ็ดปีข้างหน้า เขาจึงได้รับความไว้วางใจจากกษัตริย์ให้เป็นผู้มีอำนาจควบคุมการผลิตพืชผลการเกษตรทั้งหมดของอียิปต์
แม้จะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ในเวลานั้น แต่นบียูซุฟก็ไม่เคยคิดอาฆาตแก้แค้นบรรดาพี่ๆของตัวเอง ในทางตรงข้าม เขากลับเชิญยะกู๊บพ่อของเขาและพี่ชายที่วางแผนกำจัดเขามาอาศัยอยู่ในอียิปต์อย่างมีความสุข
กรณีของนบีมุฮัมมัด
เมื่อนบีมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามและประกาศว่าท่านเป็นศาสนทูตของพระเจ้า พวกลูกหลานอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในอารเบียต่างไม่พอใจและริษยาอาฆาตท่าน เหตุผลก็เพราะพวกลูกหลานอิสราเอลทะนงว่าหากจะมีนบีที่พวกตนรอคอยเกิดขึ้นบนโลกนี้ตามคำบอกของโมเสสและพระเยซู นบีผู้นั้นก็จะต้องเกิดขึ้นในหมู่ลูกหลานอิสราเอลซึ่งเป็นหมู่ชนที่พระเจ้าทรงเลือก เพราะบรรพบุรุษของพวกตนหลายคนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบีมาในอดีตและพวกตนเป็นชนชาติที่มีคัมภีร์ทางศาสนา ส่วนพวกอาหรับนั้นเป็นชนชาติที่กักขฬะป่าเถื่อนและไม่มีคัมภีร์ทางศาสนามาก่อน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีนบีเกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ
แม้นบีมุฮัมมัดจะแสดงหลักฐานต่างๆยืนยันความเป็นนบีของท่านแก่พวกลูกหลานอิสราเอล แต่แรงริษยาของคนพวกนี้ก็รุนแรงเกินกว่าที่จะทนยอมรับความจริงได้ ในที่สุด คนพวกนี้ก็วางแผนกำจัดนบีมุฮัมมัดด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ มิหนำซ้ำกลับต้องมีชีวิตอย่างอัปยศด้วยเมื่อนบีมุฮัมมัดได้เป็นประมุขแห่งรัฐอิสลาม
การป้องกันความริษยา
เนื่องจากความริษยาเป็นมลทินแห่งใจที่ทำให้เกิดทุกข์และผลเสียไม่เพียงต่อตัวผู้อิจฉาริษยาเอง แต่ยังมีผลไปถึงผู้อื่นด้วย ดังนั้น อิสลามจึงได้ให้แนวทางป้องกันไว้ดังนี้
– เราต้องยอมรับว่าพระเจ้าให้มนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน การเห็นคนอื่นได้ดีกว่าหรือได้มากกว่าแสดงว่าเราไม่พอใจต่อความประสงค์ของพระเจ้าซึ่งมีแต่จะทำให้ตัวเองเกิดทุกข์ยิ่งขึ้นเมื่อเห็นคนถูกอิจฉาริษยาได้ดีกว่าหรือมีมากกว่า
– นบีมุฮัมมัดได้สอนว่า “ไม่มีการอิจฉาใครนอกไปจากสองกรณี นั่นคือ คนที่พระเจ้าประทานวิชาความรู้ให้และเขาสอนความรู้นั้นแก่ผู้คน และคนที่พระเจ้าประทานความมั่งคั่งให้พร้อมกับอำนาจที่จะใช้จ่ายมันในหนทางแห่งสัจธรรม”
– เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีก็จงแสดงความยินดีกับคนผู้นั้น
– นบีมุฮัมมัดได้สอนไว้อีกว่า “ความริษยานั้นกลืนกินความดีเหมือนกับไฟที่กินฟืน”
– เนื่องจากความริษยาเป็นความชั่วที่เกิดจากการยุยงของซาตานมารร้าย อิสลามจึงสอนให้มุสลิมอ่านคำวิงวอนในคัมภีร์กุรอานเพื่อขอความคุ้มครองจากพระเจ้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของการอิจฉาริษยา
อิมามฆอซาลี นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงทางด้านจิตวิญญาณได้กล่าวว่า : “จงระวังไว้ให้ดีว่าความอิจฉาริษยาเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งของหัวใจและไม่มียาขนานใดที่จะรักษาโรคนี้นอกไปจากความรู้และการปฏิบัติ ความรู้ที่จะรักษาโรคอิจฉาริษยาก็คือการรู้ว่าโรคนี้เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อชีวิตและต่อศาสนาของตน……. การที่ความอิจฉาริษยาเป็นอันตรายสำหรับศาสนาของผู้ที่อิจฉาริษยาก็เพราะความอิจฉาริษยานี้เองที่ทำให้เขาเกลียดชังความดีงามที่พระเจ้าได้ทรงจัดแบ่งไว้ให้แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากนี้แล้ว เขายังเกลียดชังความยุติธรรมของพระองค์ที่ได้ทรงสร้างไว้ในโลกด้วย ดังนั้น ผู้อิจฉาริษยาจึงต่อสู้และต่อต้านความประสงค์ของพระเจ้าซึ่งเป็นการขัดกับความศรัทธา หลังจากนั้น ผู้อิจฉาริษยาก็จะมีส่วนร่วมกับมารร้ายและบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในการที่จะทำลายความดีงามให้หมดสิ้นไป ความอิจฉาริษยาในหัวใจนี้เองที่กลืนกินความดีและลบล้างความดีเหมือนกับกลางคืนเข้ามาแทนกลางวัน คนที่เป็นทุกข์จากความอิจฉาริษยาในชีวิตจะเจ็บปวดและทุกข์ใจทุกครั้งที่เขาเห็นคนที่เขาอิจฉาริษยาได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า”