แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อิสลามมีคำตอบ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อิสลามมีคำตอบ แสดงบทความทั้งหมด

ถาม อิสลามมีกฎเกี่ยวกับการไปเยี่ยมสุสานฝังศพอย่างไร ? และการอาศัยที่ฝังศพ หรือการเชือดแพะและใช้ทรัพย์สินเป็นสื่อกลางในการเข้าใกล้พระเจ้ามีหรือไม่ในอิสลาม ?

ถาม: อิสลามมีกฎเกี่ยวกับการไปเยี่ยมสุสานฝังศพอย่างไร ? และการอาศัยที่ฝังศพ หรือการเชือดแพะและใช้ทรัพย์สินเป็นสื่อกลางในการเข้าใกล้พระเจ้ามีหรือไม่ในอิสลาม ?

ตอบ    เชค อิบนุบาซ ผู้ตัดสินปัญหาศาสนาสูงสุดของซาอุดีอารเบียตอบว่า :-
การไปเยี่ยมสุสานฝังศพมีสองประเภท  ประเภทแรกเป็นที่อนุมัติและเป็นที่สนับสนุน นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อวิงวอนให้ผู้ตายและขอความเมตตาให้แก่คนเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็เพื่อระลึกถึงความตายและเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า  นี่เป็นสิ่งที่มีหลักฐานจากคำสอนของท่านนบีที่กล่าวว่า “จงไปเยี่ยมสุสาน เพราะว่ามันจะทำให้พวกท่านระลึกถึงโลกหน้า”
ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านเคยไปเยี่ยมหลุมฝังศพ  อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติเช่นนี้ก็มีไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้หญิง สำหรับผู้หญิงไม่มีคำสั่งให้พวกเธอไปเยี่ยมหลุมฝังศพ ความจริงแล้ว ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในในสุสานเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะว่าการไปเยี่ยมหลุมศพเป็นการทดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้หญิง นอกจากนี้แล้วก็เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าผู้หญิงมีความอดทนอดกลั้นน้อยกว่าผู้ชายและมักจะข่มความเศร้าโศกเสียใจของตนเองไว้ไม่ได้
อุมมุ อะฏียะฮฺได้กล่าวว่า “เราได้ถูกห้ามมิให้ตามขบวนศพ แต่ก็ไม่ได้เป็นการห้ามที่เข้มงวดนัก”  นี่แสดงว่าผู้หญิงได้ถูกห้ามมิให้เดินตามขบวนศพไปยังสุสานด้วยกลัวว่ามันจะกลายเป็นการทดสอบสำหรับพวกเธอหรือเพราะว่าเธอไม่สามารถอดทนอดกลั้นได้
ส่วนการวิงวอนให้แก่ผู้ตาย(อย่างเช่นในการนมาซให้ศพ)นั้น เป็นที่อนุมัติสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
การเยี่ยมประเภทที่สองก็คือการเยี่ยมเยียนที่เป็นบาปและทำให้ตกศาสนา  นั่นคือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อกราบไหว้ศพและวิงวอนขอความช่วยเหลือจากศพหรือเพื่อเซ่นสรวงหรือสาบานต่อหลุมฝังศพ  นี่เป็นความชั่วและเป็นรูปแบบหนึ่งของการชิริก(การนำสิ่งใดมาเป็นหุ้นส่วนกับอัลลอฮฺในการสักการะและวิงวอน)  การกระทำที่ใกล้เคียงกับสิ่งนี้ก็คือการไปเยี่ยมหลุมศพเพื่อทำพิธีอะไรบางอย่าง เช่น การอ่านกุรอานหรือการนมาซในสุสาน  การกระทำเช่นนี้ไม่มีข้อกำหนดในอิสลามและเป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่การชิริก
Share:

บทความที่ได้รับความนิยม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

บทความทั้งหมด

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

ผู้ติดตาม