– ผู้ที่ได้ฉายาว่ามิตรสหายของอัลลอฮฺ บิดาของบรรดาศาสทูต ผู้สร้างอัลก๊ะบ๊ะฮฺ และแบบอย่างแห่งการเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า
EP.4 | นบีลูฎ นบีอิสมาอีล และนบีอิสหาก
เข้าใจกุรอานผ่านเรื่องราวของบรรดานบี EP.4 | นบีลูฎ นบีอิสมาอีล และนบีอิสหาก
- แต่ท่านล้วนมีแบบอย่างที่ดีงามมากมาย และมีบทเรียนมากมายให้เราได้ใคร่ครวญ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่านใด ที่สนใจ หรือต้องการศึกษา หรือ ติดตามข่าวสาร ของโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน
เทปการบรรยายนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีอย่างมากเพื่อการเผยแพร่
ดีวีดีการบรรยายทั้งหมดมีจำหน่ายที่โครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม
ข้อมูลจาก : http://www.knowislamthailand.org
ริษยาทำปัญญาสูญ
บรรจง บินกาซัน
เรื่องราวในคัมภีร์กุรอานมิ
เมื่ออาดัมและฮาวาถูกส่งมาย
เมื่ออาดัมทำตามคำบัญชาของพ
กอบีลเอาข้าวโพดแห้งๆไปพลีถ
แต่ฮาบีลกล่าวว่า “พระเจ้าทรงรับสิ่งพลีจากผู
ในที่สุด กอบีลได้ฆ่าฮาบีลเพราะแรงริ
เรื่องราวดังกล่าวในคัมภีร์
ประการแรก คัมภีร์ไบเบิลและคัมภีร์กุร
ประการที่สอง ฆาตกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นบนโ
แต่เมื่อตัวเองไม่ได้หรือไม
ความจริงแล้ว ความริษยาคือความไม่พอใจในพ
คัมภีร์กุรอานเล่าต่อไปว่าเ
ความพอใจในสิ่งที่พระเจ้าปร
ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/Banjong.Binkason/
ประวัติศาสตร์อิสลามครั้งที่01(พื้นฐานประวัติศาสตร์อิสลาม)
พื้นฐานประวัติศาสตร์อิสลามเทป01
บันทึกวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2554
โดย อ.บรรจง บินกาซัน รร.รีเจนท์ รามคำแหง
จุดประสงค์เพื่อเผยแพ่อิสลามในแง่มุมด้านประวัติศาสตร์อิสลาม นับตั้งแต่ก่อนมนุษย์ลงมาบนโลกใบนี้ ไปจนถึงยุคสุดท้ายคือยุคนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เนื้อหาโดยย่อ…
ประวัติศาสตร์คือการสืบค้นเรื่องราวในอดีตจากเอกสารหรือวัตถุ ภาษาอาหรับใช้คำทั่วไปว่า تَاريخ คัมภีร์กุรอานใช้คำว่า اَيام الله “วันของอัลลอฮฺ” เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่มีช่วงเวลายาวกว่าประวัติศาสตร์ในความหมายทั่วไป คัมภีร์ คือ วจนะของอัลลอฮฺที่มีมายังมนุษยชาติผ่านทางบรรดานบีและถูกบันทึกไว้เป็นรูปเล่ม คัมภีร์เตารอต (Torah) ถูกประทานแก่นบีมูซา (โมเสส) คัมภีร์ษะบูรฺ (Psalms) ถูกประทานแก่นบีดาวูด (ดาวิด) คัมภีร์อินญีล (Gospels) ถูกประทานแก่นบีอีซา (พระเยซู) คัมภีร์กุรอาน (Quran) ถูกประทานแก่นบีมุฮัมมัดในช่วงเวลา 23 ปี แห่งการเป็นศาสนทูต
สาระของคัมภีร์กุรอานประกอบด้วย 1. เรื่องความศรัทธาในสิ่งเร้นลับ เช่น พระเจ้า นรก สวรรค์ 2. เรื่องสิ่งอนุมัติ(ฮะลาล)และสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) 3. เรื่องข้อกฎหมายที่ชัดเจน 4. เรื่องที่ยังสามารถอธิบายและให้ความเห็นได้ 5. เรื่องข่าวดีสำหรับคนทำดีและข่าวร้ายสำหรับคนทำชั่ว 6. เรื่องประวัติศาสตร์ 7. การตักเตือนมนุษย์ 8. ข้อเปรียบเทียบและอุทาหรณ์
ประวัติศาสตร์อิสลามสามารถแบ่งออกเป็นช่วงๆได้ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ของบรรดานบีก่อนหน้าท่านนบีมุฮัมมัด 2. ประวัติศาสตร์ของท่านนบีมุฮัมมัด 3. ประวัติศาสตร์ของเคาะลีฟะฮฺผู้ได้รับทางนำทั้งสี่ 4. ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ต่างๆหลังสมัยเคาะลีฟะฮฺ
บทบาทและความสำคัญของประวัติศาสตร์ในอิสลาม 1. ถูกนำมาใช้เพื่อเรียกร้องสู่การศรัทธาในอัลลอฮฺ 2. เป็นสัญญาณ (อายะฮฺ) ของอัลลอฮฺและสิ่งมหัศจรรย์ของนบี 3. เป็นบทเรียนสำหรับเตือนมนุษยชาติ 4. การศึกษาอิสลามคือการศึกษาประวัติศาสตร์ของบรรดานบี
ประเด็นศึกษา 1. ภูมิหลังของการประทานอายะฮฺกุรอาน 2. บทเรียนและข้อคิดที่ได้จากประวัติศาสตร์
บันทึกวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2554
โดย อ.บรรจง บินกาซัน รร.รีเจนท์ รามคำแหง
จุดประสงค์เพื่อเผยแพ่อิสลามในแง่มุมด้านประวัติศาสตร์อิสลาม นับตั้งแต่ก่อนมนุษย์ลงมาบนโลกใบนี้ ไปจนถึงยุคสุดท้ายคือยุคนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เนื้อหาโดยย่อ…
ประวัติศาสตร์คือการสืบค้นเรื่องราวในอดีตจากเอกสารหรือวัตถุ ภาษาอาหรับใช้คำทั่วไปว่า تَاريخ คัมภีร์กุรอานใช้คำว่า اَيام الله “วันของอัลลอฮฺ” เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่มีช่วงเวลายาวกว่าประวัติศาสตร์ในความหมายทั่วไป คัมภีร์ คือ วจนะของอัลลอฮฺที่มีมายังมนุษยชาติผ่านทางบรรดานบีและถูกบันทึกไว้เป็นรูปเล่ม คัมภีร์เตารอต (Torah) ถูกประทานแก่นบีมูซา (โมเสส) คัมภีร์ษะบูรฺ (Psalms) ถูกประทานแก่นบีดาวูด (ดาวิด) คัมภีร์อินญีล (Gospels) ถูกประทานแก่นบีอีซา (พระเยซู) คัมภีร์กุรอาน (Quran) ถูกประทานแก่นบีมุฮัมมัดในช่วงเวลา 23 ปี แห่งการเป็นศาสนทูต
สาระของคัมภีร์กุรอานประกอบด้วย 1. เรื่องความศรัทธาในสิ่งเร้นลับ เช่น พระเจ้า นรก สวรรค์ 2. เรื่องสิ่งอนุมัติ(ฮะลาล)และสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) 3. เรื่องข้อกฎหมายที่ชัดเจน 4. เรื่องที่ยังสามารถอธิบายและให้ความเห็นได้ 5. เรื่องข่าวดีสำหรับคนทำดีและข่าวร้ายสำหรับคนทำชั่ว 6. เรื่องประวัติศาสตร์ 7. การตักเตือนมนุษย์ 8. ข้อเปรียบเทียบและอุทาหรณ์
ประวัติศาสตร์อิสลามสามารถแบ่งออกเป็นช่วงๆได้ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ของบรรดานบีก่อนหน้าท่านนบีมุฮัมมัด 2. ประวัติศาสตร์ของท่านนบีมุฮัมมัด 3. ประวัติศาสตร์ของเคาะลีฟะฮฺผู้ได้รับทางนำทั้งสี่ 4. ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ต่างๆหลังสมัยเคาะลีฟะฮฺ
บทบาทและความสำคัญของประวัติศาสตร์ในอิสลาม 1. ถูกนำมาใช้เพื่อเรียกร้องสู่การศรัทธาในอัลลอฮฺ 2. เป็นสัญญาณ (อายะฮฺ) ของอัลลอฮฺและสิ่งมหัศจรรย์ของนบี 3. เป็นบทเรียนสำหรับเตือนมนุษยชาติ 4. การศึกษาอิสลามคือการศึกษาประวัติศาสตร์ของบรรดานบี
ประเด็นศึกษา 1. ภูมิหลังของการประทานอายะฮฺกุรอาน 2. บทเรียนและข้อคิดที่ได้จากประวัติศาสตร์
EP.3 | นบีอิบรอฮีม
เข้าใจกุรอานผ่านเรื่องราวของบรรดานบี EP.3 | นบีอิบรอฮีม
– ผู้ที่ได้ฉายาว่ามิตรสหายของอัลลอฮฺ บิดาของบรรดาศาสทูต ผู้สร้างอัลก๊ะบ๊ะฮฺ และแบบอย่างแห่งการเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า
– ผู้ที่ได้ฉายาว่ามิตรสหายของอัลลอฮฺ บิดาของบรรดาศาสทูต ผู้สร้างอัลก๊ะบ๊ะฮฺ และแบบอย่างแห่งการเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า
ข้อมูลจาก : http://www.knowislamthailand.org
ที่มาของฮิจญ์เราะฮฺศักราช
ที่มาของฮิจญ์เราะฮฺศักราช
บรรจง บินกาซัน
วันนี้ 22 กันยายน พ.ศ.2560 ตรงกับวันที่ 1 เดือนมุฮัรฺร็อม ฮ.ศ.1439 วันปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม แต่มุสลิมทั่วโลกผ่านวันขึ้นปีใหม่ของตนไปโดยมิได้มีการจัดงานเคานต์ดาวหรือจุดพลุเฉลิมฉลองแต่ประการใด เพราะมุสลิมถือว่าวันที่ 1 ของทุกเดือนในรอบปีเป็นเพียงวันที่บอกว่าเวลาของเราได้หมดไปอีกหนึ่งเดือนแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมมีวันสำคัญที่จะเฉลิมฉลองกันในบางเดือนของทุกปี นั่นคือ วันอีดุลฟิฏร์ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสการสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน(เดือนที่ 9)และวันอีดุลอัฎฮาซึ่งเป็นวันแห่งการทำพิธีฮัจญ์ของมุสลิมทั่วโลกในเดือนซุลฮิจญะฮฺ เดือนสุดท้ายของปี
ในคัมภีร์กุรอาน 9: 36 ระบุว่า “จำนวนเดือนที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดไว้นั้นมีสิบสองเดือนตั้งแต่เมื่อตอนที่พระองค์ได้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และในจำนวนนี้มีสี่เดือนต้องห้าม นี่คือหลักในการนับที่ถูกต้อง......”
ดังนั้น มนุษย์จึงแบ่งเวลาหนึ่งปีออกเป็นสิบสองเดือนมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว แต่การแบ่งเดือนในแต่ละปีมีวิธีต่างกัน ระบบสุริยคติใช้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์กำหนดหนึ่งปี ส่วนระบบจันทรคติใช้การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกนับเป็นหนึ่งเดือนและนับไป 12 เดือนเป็นหนึ่งปี เดือนส่วนใหญ่ในปฏิทินจันทรคติจะมี 29 วัน ดังนั้น วันในปฏิทินจันทรคติจะมี 354 วันเศษๆซึ่งน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ 10 -11 วัน
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างปฏิทินสุริยคติกับปฏิทินจันทรคติก็คือ ปฏิทินในระบบสุริยคติเริ่มต้นวันใหม่หลังเที่ยงคืน แต่ปฏิทินระบบจันทรคติของอิสลามเริ่มต้นวันใหม่เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
คัมภีร์กุรอานยังกล่าวอีกว่าในจำนวน 12 เดือนนี้มีเดือนต้องห้ามอยู่สี่เดือน นั่นคือเดือนที่ 1, 7, 11 และ 12 ในสังคมชาวอาหรับก่อนสมัยอิสลามได้กำหนดประเพณีไว้อย่างหนึ่งว่าในเดือนดังกล่าวห้ามทุกเผ่าทำสงคราม ทั้งนี้เพราะเดือนที่ 12 (เดือนซุลฮิจญะฮฺ) ของทุกปีเป็นเดือนแห่งการทำพิธีฮัจญ์ เดือนที่ 11 (เดือนซุลเกาะด๊ะฮฺ) เป็นเดือนแห่งการเดินทางมาและเดือนที่ 1 (เดือนมุฮัรฺร็อม)เป็นเดือนแห่งการเดินทางกลับ ดังนั้น ชาวอาหรับทุกคนต้องให้เกียรติแก่ผู้เดินทางมาทำพิธีฮัจญ์ และที่สำคัญก็คือความปลอดภัยในช่วงเดือนต้องห้ามจะทำให้ชาวอาหรับทุกเผ่าต่างได้รับผลประโยชน์จากการทำการค้า
แม้สังคมชาวอาหรับสมัยก่อนหน้าอิสลามมีการกำหนดวันและเดือนต่างๆแล้วก็ตาม แต่ชาวอาหรับก็ยังไม่มีปฏิทินที่บอกว่าเป็นศักราชที่เท่าใด การนับปีจะอ้างอิงเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น นบีมุฮัมมัดเกิดในวันจันทร์ เดือนเราะบีอุลเอาวัล ปีช้าง ทั้งนี้เนื่องจากในปีที่นบีมุฮัมมัดถือกำเนิดเป็นปีที่มีกองทัพช้างจากเยเมนได้บุกเข้ามายังมักก๊ะฮฺ ชาวอาหรับจึงถือว่าปีนั้นเป็นปีเกิดเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในความทรงจำของพวกตน
เมื่อนบีมุฮัมมัดอพยพจากมักก๊ะฮฺไปที่มะดีนะฮฺใน ค.ศ.622 ท่านพบว่าชาวบนีอิสรออีลที่นั่นถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อม (วันอาชูรอ) ท่านจึงได้ถามคนกลุ่มนี้ถึงเหตุผลในการถือศีลอดในวันนั้น ชาวบนีอิสรออีลตอบท่านว่า “มันเป็นวันดีวันหนึ่ง” (วันที่โมเสสช่วยชาวยิวให้รอดพ้นจากฟาโรห์)นบีมุฮัมมัดจึงบอกชาวยิวว่า “เราใกล้ชิดโมเสสมากกว่าพวกท่านเสียอีก”
ในเวลานั้น คำบัญชาเรื่องการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ได้ถูกประทานมา นบีมุฮัมมัดได้ถือศีลอดในวันนั้นตามชาวบนีอิสรออีลและท่านได้สั่งมุสลิมในมะดีนะฮฺให้ถือศีลอดตามแบบชาวบนีอิสรออีล เพราะท่านถือว่าโมเสสเป็นนบีของพระเจ้า ท่านจึงปฏิบัติตาม
ในปีถัดมา นบีมุฮัมมัดได้รับคำบัญชาให้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน การถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อมจึงเป็นสิ่งที่มุสลิมสามารถเลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้ตามความสมัครใจ ไม่ใช่ข้อบังคับเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนเราะฎอน
ในสมัยของนบีมุฮัมมัด มุสลิมยังไม่มีศักราชของตนเอง หลังสมัยนบีมุฮัมมัด ใน ค.ศ.638 ซึ่งเป็นสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ อาณาเขตของรัฐอิสลามขยายกว้างออกไป อบูมูซา อัชอะรีย์ เจ้าหน้าที่ปกครองของอุมัรฺในเมืองบัศเราะฮฺในประเทศอิรักได้ร้องเรียนว่าจดหมายที่เขาได้รับจากอุมัรฺไม่ได้ระบุปีไว้ ทำให้เขาไม่อาจจำได้ว่าจดหมายฉบับใดเป็นฉบับล่าสุด ดังนั้น เคาะลีฟะฮฺอุมัรฺจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่มุสลิมต้องมีการกำหนดศักราชของตนเอง
หลังจากปรึกษาหารือกับผู้อาวุโส อุมัรฺก็ตัดสินใจว่าศักราชของอิสลามควรเริ่มต้นตั้งแต่ปีที่นบีมุฮัมมัดอพยพมาถึงเมืองมะดีนะฮฺ อุษมาน บินอัฟฟาน สาวกผู้อาวุโสคนหนึ่งแนะนำว่าปฏิทินอิสลามควรเริ่มต้นด้วยเดือนมุฮัรฺร็อมตามประเพณีของชาวอาหรับแม้ในความเป็นจริงแล้ว นบีมุฮัมมัดอพยพมาถึงเมืองมะดีนะฮฺในเดือนถัดจากนั้นก็ตาม นับแต่นั้นมา ศักราชของอิสลามจึงเริ่มต้นและถูกเรียกว่า “ฮิจญ์เราะฮฺศักราช” เพราะฮิจญ์เราะฮฺหมายถึงการอพยพ
แม้มุสลิมทั่วโลกไม่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺศักราช แต่ในวันที่ 9 และ 10 ของเดือนมุฮัรฺร็อม ประชาคมมุสลิมซุนนีส่วนใหญ่จะมีประเพณีปฏิบัติร่วมกันอย่างหนึ่ง นั่นคือการถือศีลอดด้วยความสมัครใจ บางชุมชนเชื่อว่าวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อมเป็นวันที่เรือของโนอาห์(นบีนูฮฺ)ได้เกยตื้นบนภูเขาญูดีและโนอาห์ได้เอาเมล็ดธัญพืชทั้งหมดที่เหลืออยู่ในเรือมากวนเป็นอาหารแจกผู้ที่เหลือรอดชีวิต จึงได้จัดประเพณีกวนเมล็ดธัญพืชที่เรียกว่า “บูโบอาชูรอ” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
ส่วนชุมชนชาวชีอะฮ์จะจัดพิธีอาลัยอาวรณ์ถึงการจากไปของอิมามฮุเซนหลานของนบีมุฮัมมัด
บรรจง บินกาซัน
วันนี้ 22 กันยายน พ.ศ.2560 ตรงกับวันที่ 1 เดือนมุฮัรฺร็อม ฮ.ศ.1439 วันปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม แต่มุสลิมทั่วโลกผ่านวันขึ้นปีใหม่ของตนไปโดยมิได้มีการจัดงานเคานต์ดาวหรือจุดพลุเฉลิมฉลองแต่ประการใด เพราะมุสลิมถือว่าวันที่ 1 ของทุกเดือนในรอบปีเป็นเพียงวันที่บอกว่าเวลาของเราได้หมดไปอีกหนึ่งเดือนแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมมีวันสำคัญที่จะเฉลิมฉลองกันในบางเดือนของทุกปี นั่นคือ วันอีดุลฟิฏร์ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสการสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน(เดือนที่ 9)และวันอีดุลอัฎฮาซึ่งเป็นวันแห่งการทำพิธีฮัจญ์ของมุสลิมทั่วโลกในเดือนซุลฮิจญะฮฺ เดือนสุดท้ายของปี
ในคัมภีร์กุรอาน 9: 36 ระบุว่า “จำนวนเดือนที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดไว้นั้นมีสิบสองเดือนตั้งแต่เมื่อตอนที่พระองค์ได้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และในจำนวนนี้มีสี่เดือนต้องห้าม นี่คือหลักในการนับที่ถูกต้อง......”
ดังนั้น มนุษย์จึงแบ่งเวลาหนึ่งปีออกเป็นสิบสองเดือนมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว แต่การแบ่งเดือนในแต่ละปีมีวิธีต่างกัน ระบบสุริยคติใช้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์กำหนดหนึ่งปี ส่วนระบบจันทรคติใช้การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกนับเป็นหนึ่งเดือนและนับไป 12 เดือนเป็นหนึ่งปี เดือนส่วนใหญ่ในปฏิทินจันทรคติจะมี 29 วัน ดังนั้น วันในปฏิทินจันทรคติจะมี 354 วันเศษๆซึ่งน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ 10 -11 วัน
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างปฏิทินสุริยคติกับปฏิทินจันทรคติก็คือ ปฏิทินในระบบสุริยคติเริ่มต้นวันใหม่หลังเที่ยงคืน แต่ปฏิทินระบบจันทรคติของอิสลามเริ่มต้นวันใหม่เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
คัมภีร์กุรอานยังกล่าวอีกว่าในจำนวน 12 เดือนนี้มีเดือนต้องห้ามอยู่สี่เดือน นั่นคือเดือนที่ 1, 7, 11 และ 12 ในสังคมชาวอาหรับก่อนสมัยอิสลามได้กำหนดประเพณีไว้อย่างหนึ่งว่าในเดือนดังกล่าวห้ามทุกเผ่าทำสงคราม ทั้งนี้เพราะเดือนที่ 12 (เดือนซุลฮิจญะฮฺ) ของทุกปีเป็นเดือนแห่งการทำพิธีฮัจญ์ เดือนที่ 11 (เดือนซุลเกาะด๊ะฮฺ) เป็นเดือนแห่งการเดินทางมาและเดือนที่ 1 (เดือนมุฮัรฺร็อม)เป็นเดือนแห่งการเดินทางกลับ ดังนั้น ชาวอาหรับทุกคนต้องให้เกียรติแก่ผู้เดินทางมาทำพิธีฮัจญ์ และที่สำคัญก็คือความปลอดภัยในช่วงเดือนต้องห้ามจะทำให้ชาวอาหรับทุกเผ่าต่างได้รับผลประโยชน์จากการทำการค้า
แม้สังคมชาวอาหรับสมัยก่อนหน้าอิสลามมีการกำหนดวันและเดือนต่างๆแล้วก็ตาม แต่ชาวอาหรับก็ยังไม่มีปฏิทินที่บอกว่าเป็นศักราชที่เท่าใด การนับปีจะอ้างอิงเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น นบีมุฮัมมัดเกิดในวันจันทร์ เดือนเราะบีอุลเอาวัล ปีช้าง ทั้งนี้เนื่องจากในปีที่นบีมุฮัมมัดถือกำเนิดเป็นปีที่มีกองทัพช้างจากเยเมนได้บุกเข้ามายังมักก๊ะฮฺ ชาวอาหรับจึงถือว่าปีนั้นเป็นปีเกิดเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในความทรงจำของพวกตน
เมื่อนบีมุฮัมมัดอพยพจากมักก๊ะฮฺไปที่มะดีนะฮฺใน ค.ศ.622 ท่านพบว่าชาวบนีอิสรออีลที่นั่นถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อม (วันอาชูรอ) ท่านจึงได้ถามคนกลุ่มนี้ถึงเหตุผลในการถือศีลอดในวันนั้น ชาวบนีอิสรออีลตอบท่านว่า “มันเป็นวันดีวันหนึ่ง” (วันที่โมเสสช่วยชาวยิวให้รอดพ้นจากฟาโรห์)นบีมุฮัมมัดจึงบอกชาวยิวว่า “เราใกล้ชิดโมเสสมากกว่าพวกท่านเสียอีก”
ในเวลานั้น คำบัญชาเรื่องการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ได้ถูกประทานมา นบีมุฮัมมัดได้ถือศีลอดในวันนั้นตามชาวบนีอิสรออีลและท่านได้สั่งมุสลิมในมะดีนะฮฺให้ถือศีลอดตามแบบชาวบนีอิสรออีล เพราะท่านถือว่าโมเสสเป็นนบีของพระเจ้า ท่านจึงปฏิบัติตาม
ในปีถัดมา นบีมุฮัมมัดได้รับคำบัญชาให้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน การถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อมจึงเป็นสิ่งที่มุสลิมสามารถเลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้ตามความสมัครใจ ไม่ใช่ข้อบังคับเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนเราะฎอน
ในสมัยของนบีมุฮัมมัด มุสลิมยังไม่มีศักราชของตนเอง หลังสมัยนบีมุฮัมมัด ใน ค.ศ.638 ซึ่งเป็นสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ อาณาเขตของรัฐอิสลามขยายกว้างออกไป อบูมูซา อัชอะรีย์ เจ้าหน้าที่ปกครองของอุมัรฺในเมืองบัศเราะฮฺในประเทศอิรักได้ร้องเรียนว่าจดหมายที่เขาได้รับจากอุมัรฺไม่ได้ระบุปีไว้ ทำให้เขาไม่อาจจำได้ว่าจดหมายฉบับใดเป็นฉบับล่าสุด ดังนั้น เคาะลีฟะฮฺอุมัรฺจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่มุสลิมต้องมีการกำหนดศักราชของตนเอง
หลังจากปรึกษาหารือกับผู้อาวุโส อุมัรฺก็ตัดสินใจว่าศักราชของอิสลามควรเริ่มต้นตั้งแต่ปีที่นบีมุฮัมมัดอพยพมาถึงเมืองมะดีนะฮฺ อุษมาน บินอัฟฟาน สาวกผู้อาวุโสคนหนึ่งแนะนำว่าปฏิทินอิสลามควรเริ่มต้นด้วยเดือนมุฮัรฺร็อมตามประเพณีของชาวอาหรับแม้ในความเป็นจริงแล้ว นบีมุฮัมมัดอพยพมาถึงเมืองมะดีนะฮฺในเดือนถัดจากนั้นก็ตาม นับแต่นั้นมา ศักราชของอิสลามจึงเริ่มต้นและถูกเรียกว่า “ฮิจญ์เราะฮฺศักราช” เพราะฮิจญ์เราะฮฺหมายถึงการอพยพ
แม้มุสลิมทั่วโลกไม่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺศักราช แต่ในวันที่ 9 และ 10 ของเดือนมุฮัรฺร็อม ประชาคมมุสลิมซุนนีส่วนใหญ่จะมีประเพณีปฏิบัติร่วมกันอย่างหนึ่ง นั่นคือการถือศีลอดด้วยความสมัครใจ บางชุมชนเชื่อว่าวันที่ 10 เดือนมุฮัรฺร็อมเป็นวันที่เรือของโนอาห์(นบีนูฮฺ)ได้เกยตื้นบนภูเขาญูดีและโนอาห์ได้เอาเมล็ดธัญพืชทั้งหมดที่เหลืออยู่ในเรือมากวนเป็นอาหารแจกผู้ที่เหลือรอดชีวิต จึงได้จัดประเพณีกวนเมล็ดธัญพืชที่เรียกว่า “บูโบอาชูรอ” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
ส่วนชุมชนชาวชีอะฮ์จะจัดพิธีอาลัยอาวรณ์ถึงการจากไปของอิมามฮุเซนหลานของนบีมุฮัมมัด
EP.2 | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบรรดานบี
เข้าใจกุรอานผ่านเรื่องราวของบรรดานบี EP.2 | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบรรดานบี – มีความเข้าใจในเรื่องของนบี และรอซูล ทราบถึงความสำคัญ คุณสมบัติ และเชื่อสายของบรรดานบีต่างๆ
ข้อมูลจาก : http://www.knowislamthailand.org/
EP.1 | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคัมภีร์กุรอาน
เข้าใจกุรอานผ่านเรื่องราวของบรรดานบี EP.1 | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคัมภีร์กุรอาน
– อาจารย์บรรจง บินกาซัน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ของ คัมภีร์กุรอาน อธิบายความแตกต่างของคัมภีร์ก่อนหน้านี้ รายละเอียดเรื่องซูเราะฮฺ สาระของคัมภีร์กุรอาน และรายละเอียดอีกมากมาย
ข้อมูลจาก : http://www.knowislamthailand.org/understand-the-quran/knowledge-of-the-quran/
– อาจารย์บรรจง บินกาซัน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ของ คัมภีร์กุรอาน อธิบายความแตกต่างของคัมภีร์ก่อนหน้านี้ รายละเอียดเรื่องซูเราะฮฺ สาระของคัมภีร์กุรอาน และรายละเอียดอีกมากมาย